การเลี้ยงปลากัดมิใช่เพียงแต่เลี้ยงไว้แค่ดุความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการประกาศศักดิ์ศรีด้วยการ ลงกัดในสนามประลองในทุกๆสัปดาห์ จะมีคนเลี้ยงปลากัด (เรียกกันภาษาคนเลี้ยงปลากัดว่า นักเลงปลากัด) จะนำเอาปลากัดในครอบครองเพียงตัวเดียวเดินทางมาอย่างแช่มช้อยและเชื่องช้าเนื่องด้วยไม่ต้องการให้ปลากัด หวาบ (หวาบเป็นภาษาใต้ แปลว่า ตื่นตระหนก)
จากกการเดินทาง โดยตลอดเส้นทางก่อนถึงสนามประลองจะเอาผ้าห่อขวดปลากัด ไม่ให้ปลาตื่นตระหนกจากการเดินทาง เอาปลามาเปรียบเทียบกับปลาตัวอื่นๆของคู่แข็ง
การเปรียบเทียบมีการสังเกตอยู่หลายข้อ
- 1.การเปรียบเทียบต้องเอาขวดปลาแต่ละตัวมาเทียบและต้องให้ปลาหม้ายกัน (หม้ายเป็นภาษาของคนเลี้ยงปลากัด แปลว่า แผ่คลีบออกเต็มที่)
- 2. ขนาดของปลาควรมีขนาดใกล้เคียงกัน หรือไม่ใหญ่เล็กไปกว่ากันสักมากน้อย
- 3.ปลากัดต้องเป็นปลาสายพันธุ์เดียวกัน เช่น ไม่ให้เอาปลากัดลูกหม้อไปกัดกับปลากัดจีน
- 4.ปลากัดต้องสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยบาดเจ็บจากการลงสนามในครั้งก่อน ป้องกันการล้มปลาหรือต้องการให้ปลาของตัวเองแพ้ในการแข็ง
- 5.การกัดกันต้องปล่อยปลาลงตู้ที่เจ้าของปลาได้ทดสอบน้ำว่าสะอาดและปลอดภัยกับปลากัดของตัวเอง ซึ่งต้องผ่านการเห็นชอบจากเจ้าของปลาทั้ง 2 ฝ่าย
แข็งกันกัดกันแต่ละสาย สัปดาห์นี้ของใครกัดกัน สัปดาห์ละ 4 คู่ กว่าจะครอบทุกคู่ก็ใช้เวลาหลายสัปดาห์ จนกว่าจะได้ปลากัด 2 สุดท้ายที่จะลงกัดกัน จะนัดเวลาอีกที
ปลากัดตัวไหนที่ชนะ นับได้ว่าปลากัดตัวนั้นเป็นแชมป์ 10 ขวด สมัยโบราณไม่มีการใช้เงินเมื่อแข็งกัดปลาแพ้หรือชนะ จะกัดปลากันเพื่อหาความสนุกสนาน คนที่ปลากัดแพ้จะเอาเหล้าสาโทใส่ขวดแม่โขงมาเลี้ยงฉลองให้คนชนะ
5 ขวด ส่วนคนที่ปลากัดชนะก็ไม่ดูถูกดูแคลนคนที่แพ้ก็จะเอาเหล้าสาโท หรือไม่ก็กระแช่ (ทางปักษ์ใต้เรียกว่า หวาก) มาร่วมฉลองอีก 5 ขวด รวมแล้วเมื่อเสร็จสิ้นการแข้งขันกัดปลาก็จะมีเหล้าสาโทให้ฉลองกันถึง 10ขวด
* ปลากัดที่เป็นแชมป์ 10 ขวด จะเป็นพ่อพันธุ์และลูกปลาในครอกนั้นจะมีมูลค่าสูง จะมีการประมูลราคาสำหรับลูกปลากัดที่เป็นตัวผู้